ระเบียบ คำสั่ง แนวทางปฏิบัติ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

17. ว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
16. ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
15. ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2552
14. ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
13. ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
12. ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548
11. ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
10. ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547
9. ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545
8. ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542
7. ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541
6. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
5. ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
4. ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538
3. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
2. ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
1. ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการจัดการประชุมของทางราชการ พ.ศ.2524 

ระเบียบกระทรวงการคลัง

20. ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทส (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
19. ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
18. ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2554
17. ว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2554
16. ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
15. ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2553
14. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
13. ว่าด้วยเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ สำหรับข้าราชการซึ่งรับราชการประจำในต่างประเทศ พ.ศ. 2553
12. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
11. ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2552
10. ว่าด้วยค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
9. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและสำหรับหน่วยงาน เพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานของรัฐ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2551
8. ว่าด้วยการหักเงินสะสม การเบิกจ่ายเงินสมทบ เงินชดเชย และการส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จ บำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2551
7. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2551
6. ว่าด้วยว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและสำหรับหน่วยงาน เพื่อจ่ายให้แก่ราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานของรัฐ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550
5. ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550
4. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
3. ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่งประเทศ พ.ศ. 2549
2. ว่าด้วยการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา และการใช้ที่ราชพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
1. ว่าด้วยการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา และการใช้ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2546

ระเบียบและแนวทางปฏิบัติกรมชลประทาน

3. แนวทางปฏิบัติกรณีทรัพย์สินของทางราชการได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ
2. แนวทางการเบิกจ่ายเงินกรณีจ้างสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำซ่อมแซมบำรุงรักษางานชลประทาน
1. แนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานโครงการซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารชลประทานตามข้อเสนอของเกษตรกร ( 1 โครงการ 1 ล้านบาท )

คู่มือปฏิบัติงาน

13. การเขียนเส้นชั้นน้ำฝน (credit นายปิยะพงศ์ ต่อนิมิตรกุล)
12. clip_agri_map (credit นายปิยะพงศ์ ต่อนิมิตรกุล)
11. การ export SHP to KMZ (credit นายปิยะพงศ์ ต่อนิมิตรกุล)
10. การ joint ตารางข้อมูลจาก excel (credit นายปิยะพงศ์ ต่อนิมิตรกุล)
9. เอกสารประกอบการฝึกอบรมโปรแกรม GIS (credit นายปิยะพงศ์ ต่อนิมิตรกุล)
8. คู่มือการบำรุงรักษาและการทำงานสำหรับเครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่ง
7. ฐานข้อมูลระบบโทรมาตรลุ่มน้ำเลย
6. คู่มือการเชื่อมต่อ VPN กับ เครื่อง SCADA View ของโทรมาตรลุ่มน้ำเลย
5. คู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี
4. วิธีการสำรวจผลผลิตข้าว
3.โปรแกรม Excel การจัดทำราคากลางงานซื้อ ( download คู่มือ )
2. คู่มือปฏิบัติงาน การจำหน่ายพัสดุ
1. คู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษาตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า

การจัดการความรู้ หรือ KM (Knowledgh Management)

การจัดการความรู้ หรือ KM (Knowledge Management) คือ การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาจัดระบบ และ พัฒนาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ โดยจัดช่องทางการเข้าถึงความรู้ให้สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ และนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง

ประเภทความรู้ ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ
1.ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร
2.ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือไม่
โดยที่ความรู้ทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน การจัดการ “ความรู้ชัดแจ้ง” จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป (ดูวงจรทางซ้ายในรูป) ส่วนการจัดการ “ความรู้แบบฝังลึก” นั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป (ดูวงจรทางขวาในรูป)

ระดับของความรู้ หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
1.ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้ โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
2.ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
3.ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
4.ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1.“คน” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3.“กระบวนการความรู้” เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล

กรอบแนวคิดการจัดการความรู้
แผนผังอิชิคะวะ (Ishikawa diagram) หรือแผงผังก้างปลา (หรือในชื่ออื่นของไทยเช่น โมเดลปลาทู หรือตัวแบบปลาตะเพียน) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัว ลำตัว และหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่ต่างกันดังนี้
1.ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision - KV) มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร"
2.ส่วนกลางลำตัว (Knowledge Sharing - KS) ส่วนที่เป็นหัวใจให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน
3.ส่วนหาง (Knowledge Assets - KA) คือ สร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ "สะบัดหาง" สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ

กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน
1.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2.การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

คลังความรู้

วิสัยทัศน์การจัดการความรู้กรมชลประทาน

มุ่งบริหารจัดการองค์ความรู้ พัฒนาเครือข่ายและศูนย์กลางการเรียนรู้

โดยใช้วิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อความเป็นเลิศด้านบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

วัฒนธรรมการเรียนรู้กรมชลประทาน

                             1.พัฒนาตนเอง                                5.การทำงานเป็นทีม

                             2.มีคุณธรรมและความเสมอภาค    6.รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

                             3.เห็นประโยชน์ส่วนรวม                 7.แลกเปลี่ยนความรู้

                             4.รักองค์กร                                     8.ถ่ายทอดความรู้