วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม

กรมชลประทาน

วิสัยทัศน์

"กรมชลประทานเป็นองค์กรนำด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ให้มีพื้นที่ชลประทาน อยู่ในลำดับ 1 ใน 10 ของโลก"

ค่านิยม "WATER for all" น้ำเพื่อสรรพสิ่ง

W ork hard         ==>     ทุ่มเทในการทำงาน A ccountability     ==>      มีความรับผิดชอบ T eamwork  ==>     เรียนรู้และทำงานร่วมกัน E thics         ==> มีจริยธรรมในการปฏิบัติงาน R elationship ==> มีความผูกพันและสามัคคี

  พันธกิจ 1. พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เกิดความสมดุล 2. บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม 3. ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำตามภารกิจอย่างเหมาะสม 4. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำ   ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 2. การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ 3. การป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำตามภารกิจ  

เป้าประสงค์ กรมชลประทาน ได้กำหนดเป้าประสงค์ตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน 4 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และด้านการพัฒนาองค์กร มีจำนวน 19 เป้าประสงค์ คือ ก. ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ 1. มีปริมาณน้ำเก็บกักและพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 2. ทุกภาคส่วนได้รับน้ำอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม 3. ความสูญเสียที่ลดลงอันเนื่องจากภัยอันเกิดจากน้ำ

ข. ด้านคุณภาพการให้บริการ 4. อาคารชลประทานอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 5. ผู้ใช้น้ำได้รับน้ำความพึงพอใจจากการบริหารน้ำ 6. คุณภาพน้ำได้เกณฑ์มาตรฐาน 7. ระบบพยากรณ์เพื่อเตือนภัยอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

ค. ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ 8. การก่อสร้าง ซ่อมแซม และปรับปรุงแล้วเสร็จตามแผนงาน 9. การเตรียมความพร้อมก่อนการก่อสร้างเป็นไปตามแผนงาน 10. ประชาชน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม 11. มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง 12. มีการวางแผน และการดำเนินการบริหารจัดการน้ำที่ดี 13. มีผลการศึกษา วิจัยและการพัฒนาสนับสนุนการดำเนินงาน 14. มีระเบียบและกฎหมายทีทันสมัย 15. ระบบบริหารมีประสิทธิภาพ

ง. ด้านการพัฒนาองค์กร 16. บุคลากรมีสมรรถนะ และขวัญกำลังใจในการทำงาน 17. องค์กรมีการจัดการความรู้ 18. มีระบบฐานข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม 19. เครื่องจักร เครื่องมืออยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

ประวัติโครงการชลประทานเลย

เมื่อ ปี พ.ศ.2478 ข้าหลวงประจำจังหวัดเลย หลวงวิวิธสุระการ ( นายถวิล เจียรมาภาพ ) ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมชลประทานเสนอโครงการก่อสร้างทำนบปิดกั้นลำห้วยน้ำหมาน เพื่อช่วยเหลือการทำนาและการเพาะปลูกอื่นๆ ของราษฎรในเขตตัวเมืองเลย กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการสำรวจศึกษาความเหมาะสม กำหนดจุดก่อสร้างฝาย ที่บ้านท่าแพ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย ห่างจากปากลำห้วยขึ้นไปด้านเหนือน้ำ 6.250 กม. ลักษณะเป็นฝายหินก่อ สันฝายยาว 45 ม. เริ่มดำเนินการก่อสร้างตัวฝาย พ.ศ.2492 แล้วเสร็จ พ.ศ.2493 และก่อสร้าง ระบบส่งน้ำคลองส่งน้ำสายใหญ่ 2 สายแล้วเสร็จ พ.ศ.2495 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ราคาค่า ก่อสร้างตัวฝาย 1,158,825 บาท ระบบส่งน้ำและที่ทำการบ้านพัก 1,438,643 บาท รวมค่าก่อสร้าง ทั้งหมด 2,597,468 บาท มีพื้นที่ชลประทาน 5,500 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จเปิดฝายในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2498 และเป็นฝายแห่งแรกที่กรมชลประทานสร้างขึ้นใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในปี พ.ศ.2527 ได้ตั้งเป็น “โครงการชลประทานเลย” ต่อมาในปี พ.ศ.2503 ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้ไปตรวจราชการที่โครงการห้วยน้ำหมาน จ.เลย พบว่าโครงการนี้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำต้นทุน จึงมีบัญชาให้กรมชลประทานพิจารณาแก้ไข กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมานที่บ้านโป่งเบี้ย หมู่ที่ 3 ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย หัวงานเป็นเขื่อนดิน ยาว 668 ม.สูง 33 ม. อ่างเก็บน้ำมีความจุ 26.5 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ผิวน้ำ 1,540 ไร่ เริ่มก่อสร้าง พ.ศ.2530 แล้วเสร็จ พ.ศ.2533 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ราคาค่าก่อสร้าง 157 ล้านบาท